ภาควิชาอุตสาหกรรมการบริการ

ปรัชญาของหลักสูตร

                   ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม  มีกระบวนทัศน์ด้านการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งขององค์การแห่งการเรียนรู้ ที่มีสมรรถนะสูง ผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทย สร้างสรรค์สังคมไทย
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปิดโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพในรูปแบบของการเป็นตลาดวิชา

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความรู้ ความสามารถสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อินเตอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจ และประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้น ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร
2.เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจในระดับสากลที่มุ่งเน้นความถูกต้องทางด้านจริยธรรม มีเจตคติที่ดี สามารถปรับตัวอย่างเหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีขีดความสามารถที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในปัจจุบันและอนาคต

เรียนจบสาขาการโรงแรม แล้วสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

  1. ผู้ประกอบการธุรกิจการโรงแรม
  2. ผู้จัดการโรงแรมพนักงานโรงแรม เช่น พนักงานผสมเครื่องดื่ม นักจัดดอกไม้ พ่อครัว พนักงานสปา พนักงานต้อนรับ พนักงานส่วนหน้า พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
  3. พนักงานสายการบิน เช่น พนักงานต้อนรับภาคพื้นสายการบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
  4. พนักงานเรือสำราญ เช่น พนักงานต้อนรับบนเรือสำราญ พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเรือสำราญ
  5. เป็นเจ้าของภัตตาคารหรือร้านอาหาร
  6. เจ้าหน้าที่ประสานงานและดูแลลูกค้า ฝ่ายประชาสัมพันธ์
  7. รับราชการ หน่วยงานภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ
  8. พนักงานในธุรกิจนำเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานประสานงานทัวร์

 

เรียนจบสาขาการจัดการโลจิสติกส์  แล้วสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชน  และโลจิสติกส์  ฝ่ายการขนส่ง
  2. นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต  หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst,  Material Planner, Operations Analyst,  Procurement Manager, Supply Chain Analyst, Business Process Analyst, Operations Manager
  3. เจ้าหน้าที่ นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมงกรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์รับราชการ หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (กองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ) กระทรวงอุตสาหกรรม มีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (สำนักโลจิสติกส์) กรรมสรรพากร
  1. เจ้าหน้าที่ให้สินเชื่อเพื่อการนำเข้าส่งออก SME


    >> หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ (หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ.  2560)  
           (กลุ่มวิชาเอกการโรงแรม)  Read more
    >>
     หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ  (หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ.  2560)  
           (กลุ่มวิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์Read more



 

สารสนเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี

สารสนเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี