เส้นทางอาชีพของผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
หลักสูตรของสาขาวิชาการเงินและการธนาคารเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็น “นักการเงินมืออาชีพ” ผู้ที่ได้รับการศึกษาในหลักสูตรฯจะได้รับทั้งความรู้และทักษะทางการเงินที่รอบด้านและทันสมัย เพื่อรองรับเส้นทางอาชีพที่หลากหลายในอนาคตของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐในแผนกการเงิน การทำงานกับธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน ตลอดจนการประกอบประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือการประกอบอาชีพอิสระเป็นนักลงทุนเต็มตัว เส้นทางอาชีพของ “นักการเงิน” จึงมีโอกาสและทางเลือกมากมาย ตัวอย่างอาชีพของนักการเงินที่น่าสนใจ ได้แก่
- เจ้าหน้าที่การเงิน (Finance Officer)
เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการเงิน การควบคุมและตรวจสอบด้านการเงิน ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการบัญชีและการเงินประเภทต่างๆเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจทางการเงิน เช่น การจัดทำงบประมาณการลงทุน หรือการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อหาแหล่งเงินทุน เป็นต้น
- Chief Financial Officer (CFO)
CFO เป็นผู้บริหารสูงสูดทางด้านการเงินของบริษัทหรือองค์กร มีหน้าที่หลักในการกำหนดเป้าหมายและแผนการเงินของบริษัท ตลอดจนการกำกับดูแลการดำเนินงานทางด้านการเงินและบัญชีของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนงานที่ได้วางไว้ CFO มีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดงบประมาณการลงทุน การตัดสินใจลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาแหล่งเงินทุนของบริษัท การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ตลอดจนการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารกับนักลงทุนและผู้ที่ใช้ข้อมูลทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ (Credit Analyst)
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ เป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญสำหรับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินซึ่งมีรายได้หลักมาจากการให้สินเชื่อ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อทำหน้าที่พิจารณาสินเชื่อโดยการรวบรวมข้อมูลของผู้ขอสินเชื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ประเมินมูลค่าของหลักประกัน ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการชำระหนี้ในอนาคตของผุ้ขอสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อจึงต้องทำงานอย่างรอบคอบ และพิจารณาอนุมัติสินเชื่อตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อและภายใต้นโยบายการให้สินเชื่อของบริษัท
- วาณิชธนากร (Investment Banker)
วาณิชธนากร ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแก่บริษัทหรือองค์กรของรัฐในการระดมเงินทุนทั้งในรูปแบบของการออกตราสารหนี้หรือการออกตราสารทุน รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆที่สำคัญ เช่น การควบรวมกิจการ การซื้อหรือขายกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงระบบควบคุมภายใน เป็นต้น วาณิชธนากรจึงต้องมีความรู้ที่รอบด้าน ทั้งทางด้านธุรกิจ การเงิน บัญชี และเศรษฐศาสตร์ มีความเข้าใจข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และของตลาดหลักทรัพย์ มีสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อสร้างแบบจำลองทางการเงิน ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอที่ดี
- นักวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analyst)
นักวิเคราะห์การลงทุนมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านการลงทุน เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบของบทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุนถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุน เนื่องจากเนื้อหาในบทวิเคราะห์มักจะเป็นข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนและการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน ในการจัดทำบทวิเคราะห์นักวิเคราะห์จำเป็นต้องประเมินปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทหรือหลักทรัพย์ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับมูลค่าที่เหมาะสมและทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ ดังนั้นผู้ที่สนใจทำงานเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนจึงต้องมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ อ่านงบการเงินเป็น สามารถใช้เครื่องมือและแบบจำลองทางการเงิน ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสาร และนำเสนอที่ดี
- ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)
ผู้จัดการกองทุนเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารเงินของกองทุนหรือเงินของผู้ลงทุน งานผู้จัดการกองทุนจึงเป็นที่ต้องการของสถาบันการเงินต่างๆ เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกันภัย ธนาคารพาณิชย์ และเป็นที่ต้องการของหน่วยงานของรัฐ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนประกันสังคม เป็นต้น หน้าที่ของผู้จัดการกองทุนเริ่มตั้งแต่การวางแผนการลงทุน การเลือกประเภทของตราสาร การกำหนดสัดส่วนการลงทุนของแต่ละตราสาร การตัดสินใจลงทุนของผู้จัดการกองทุนต้องอยู่ภายใต้นโยบายการลงทุนของบริษัทและของกองทุน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนของผู้ลงทุน และเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้ ผู้จัดการกองทุนจึงต้องมีทักษะในการคิดและวิเคราะห์เช่นเดียวกับอาชีพนักการเงินอื่นๆ และต้องหมั่นติดตามข่าวสาร ความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของกองทุน
โครงการสร้างหลักสูตรของภาควิชาการเงินและการธนาคาร
(1) |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
33 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
6 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ |
3 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ |
9 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ |
12 |
หน่วยกิต |
|
- กลุ่มวิชาภาษาไทย |
3 |
หน่วยกิต |
(2) |
หมวดวิชาเฉพาะ |
93 |
หน่วยกิต |
|
- วิชาแกน |
42 |
หน่วยกิต |
|
- วิชาเอก |
51 |
หน่วยกิต |
(3) |
หมวดวิชาเลือกเสรี |
6 |
หน่วยกิต |
|
จำนวนหน่วยกิตรวม |
132 |
หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
- รายวิชาตามโครงการหลักสูตร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้
|
3.1.3.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
รวม 33 หน่วยกิต |
|
|
|
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
รวม 6 หน่วยกิต |
|
|
||
INT 1004
|
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ (Introduction to Computer for Business) |
|
3 (3-0-6) |
||
MTH 1103
|
แคลคูลัสสำหรับธุรกิจ 1 (Calculus for Business 1) |
|
3 (3-0-6) |
||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ รวม 3 หน่วยกิต |
|
|
|
|||
LIS 1001
|
สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า (Information and Technology for Searching) |
|
2 2 (2-0-4) |
|||
**HPR 1001
|
กีฬาเพื่อสุขภาพ (Sport for Health) |
|
1 (1-1-2)
|
|
||
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ รวม 9 หน่วยกิต |
|
|
|
|
||
**RAM 1000 |
ความรู้คู่คุณธรรม(Knowledge and Morality) |
|
3 (3-0-9) |
|
||
**PSY 1001
|
จิตวิทยาทั่วไป(General Psychology) |
|
3 (3-0-6) |
|
||
POL 1101
|
การเมืองการปกครองไทย (Thai Politics and Government) |
|
3 (3-0-6) |
|
||
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ รวม 12 หน่วยกิต |
|
|
|
|
**ENG 1001
|
ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานและศัพท์จำเป็นในชีวิตประจำวัน (Basic English Sentences and Essential Vocabulary in Daily Life) |
|
3 (2-2-5) |
|
**ENG 1002
|
ประโยคภาษาอังกฤษและศัพท์ทั่วไป (English Sentences and Vocabulary in General Use) |
|
3 (2-2-5) |
|
**ENG 2001
|
การอ่านเอาความภาษาอังกฤษ (English Reading for Comprehension) |
|
3 (2-2-5) |
|
**ENG 2002
|
การอ่านตีความภาษาอังกฤษ (English Interpretative Reading) |
|
3 (2-2-5) |
|
กลุ่มวิชาภาษาไทย รวม 3 หน่วยกิต |
|
|
|
|
THA 1003
|
การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน (Preparation for Speech and Writing) |
|
3 (3-0-6) |
|
3.1.3.2 หมวดวิชาเฉพาะ |
รวม 93 หน่วยกิต |
|
|
|||||
1. วิชาแกนทางธุรกิจ |
รวม 42 หน่วยกิต |
|
|
|||||
**ACC 1101
|
การบัญชีขั้นต้น 1 (Principles of Accounting 1) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
**ACC 1102
|
การบัญชีขั้นต้น 2 (Principles of Accounting 2) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
ACC 2134
|
การบัญชีบริหาร (Management Accounting) |
|
3 (3-0-6) |
|
||||
**ECO 1121 (ECO 1101) |
หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Principles of Microeconomics) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
**ECO 1122 (ECO 1102) |
หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค (Principles of Macroeconomics) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
FIN 2101
|
การเงินธุรกิจ (Business Finance) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
*LAW 2016
|
กฎหมายธุรกิจ (Business Law) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
MGT 2101
|
หลักการจัดการธุรกิจ (Principles of Management) |
|
3 (3-0-9) |
|||||
MGT 2102
|
การจัดการดำเนินงานและโซ่อุปทาน(Operations and Supply Chain Management) |
|
3 (3-0-9) |
|||||
MGT 3101
|
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) |
|
3 (3-0-9) |
|||||
MGT 3102
|
การภาษีอากร(Taxation) |
|
3 (3-0-9) |
|||||
MKT 2101
|
หลักการตลาด(Principles of Marketing) |
|
3 (3-0-9) |
|||||
STA 2016
|
สถิติธุรกิจและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Business Statistics and Quantitative Analysis) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
ENS 3202 |
ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสำนักงาน (English in Office Work) |
|
3 (3-0-6) |
|||||
- วิชาเอก รวม 51 หน่วยกิต
- วิชาเอกบังคับ รวม 36 หน่วยกิต
ACC 2133
|
การบัญชีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (Assets Liabilities and Owners’ Equity) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 2202
|
สถาบันการเงินและตลาดการเงิน (Financial Institutions and Financial Markets) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 2203
|
การเงินและการธนาคาร (Money and Banking) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3204
|
การจัดการการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Management) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3205
|
หลักและนโยบายการลงทุน (Principles and Policies of Investment) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3206
|
การบริหารธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank Management) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3208
|
การบริหารการเงินธุรกิจ 1 (Financial Management 1) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3209
|
การวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysis) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3210
|
การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางการเงิน (Quantitative Analysis in Finance) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 3211
|
การบริหารการเงินธุรกิจ 2 (Financial Management 2) |
|
3 (3-0-6) |
FIN 4213
|
ตราสารอนุพันธ์และการจัดการความเสี่ยง (Derivatives and Risk Management) |
|
3 (3-0-6) |
*FIN 4326
|
จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพทางการเงิน (Financial Regulations and Ethics) |
|
3 (3-0-6) |
- วิชาเอกเลือก ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้
FIN 3207
|
เทคนิคการวิเคราะห์และการทำรายงานทางการเงิน (Techniques of Financial Analysis and Reporting) |
|
3 (3-0-6) |
|
|
FIN 3212
|
การบริหารเครดิต (Credit Management) |
|
3 (3-0-6) |
|
|
FIN 3318
|
ธุรกิจกับการคลังรัฐบาล (Business and Public Finance) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4314
|
ระบบและนโยบายธนาคารกลาง (Systems and Policies of Central Banks) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4315
|
การดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ (Bank Operation) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4316
|
การสัมมนาการศึกษาเฉพาะกรณีทางการเงิน (Seminar in Financial Cases) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4317
|
การสัมมนาปัญหาธนาคารพาณิชย์ (Seminar in Commercial Bank Problems) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4319
|
การจัดการการเงินส่วนบุคคล(Personal Financial Management) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4320
|
การจัดการการเงินธุรกิจขนาดย่อม (Financial Management of the Small-Businesses) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4321
|
การวางแผนและควบคุมทางการเงิน (Financial Planning and Control) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4322 |
การจัดการสถาบันการเงิน (Financial Institutions Management) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4323
|
การประเมินผลโครงการ (Project Evaluations) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4324 |
การวิจัยทางการเงินธุรกิจ (Research in Business Finance) |
|
3 (3-0-6) |
||
FIN 4325
|
การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ (International Finance and Banking) |
|
3 (3-0-6) |